วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 10 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

บทที่ 10
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
            -  การเปลี่ยนแปลงระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยทำให้พนักงานทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาดของข้อมูล
            -  การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) ระบบจะช่วยให้มองเห็นภาพของกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเพื่อรองรับกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            -  การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering: BPR) เป็นการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจให้ดีขึ้น และสามารถลดขั้นตอนในการทำงานซ้ำซ้อน
            -  การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts) เป็นการเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับลูกค้า สินค้า การบริการ หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดไม่ยึดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ

กลยุทธ์
            คือ  แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อปรับลดจุดด้อย แสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงอุปสรรค์ เพื่อให้องค์การอยู่รอด เติบโต และชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ระดับกลยุทธ์
            -  กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ซึ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในระยะยาว
            -  กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Unit Head) กำหนดโดยผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ซึ่งให้ความสำคัญกับการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
            -  กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงาน โดยสนับสนุนและสอดคลองกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์การ

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Process)
            1.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environment Analysis) หรือเรียกว่า การวิเคราะห์สวอท เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ
                        -  สิ่งแวดล้อมภายนอก เกี่ยวกับ อุปสรรค์ และ อุปสรรค์ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ปัจจัยทางการเมือง เทคโนโยยี สังคม เศรษฐกิจ 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน เช่น รัฐบาล ชุมชน ผู้ขาย วัตถุดิบ คู่แข่งขัน ลูกค้า
                        -  สิ่งแวดล้อมภายใน เกี่ยวกับ จุดแข็ง และจุดอ่อนภายในองค์การ  เช่น การเงิน การตลาด การผลิต การดำเนินงาน การวิจัยและพัฒนา ฯลฯ
            2.  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) นำเป้าหมายและข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแว้ดล้อมมากำหนดทิศทาง แนวทาง กรอบความคิด
            3.  การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการนำแผนที่กำหนดไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ
            4.  การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) เป็นการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการวัดเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้

ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
            คือระบบสารสนเทศใดๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้กับองค์การ

กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ (Porter’s Competitive Force Model)

 1)  อุปสรรค์จากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด (Threat of Entry of New Competitors)
 2)  อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers)
 3)  อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Buyers/Customers)
 4)  การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆ ในอุตสาหกรรม (Rivalry Among Existing Competitors)
 5)  อุปสรรคที่เกิดจากสินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/services)


พอร์เตอร์ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
            1)  กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
            2)  กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
            3)  กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
           
กรอบแนวคิดของไวส์แมน (Wiseman)
            1)  กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation)
            2)  กลยุทธ์ด้านราคา (Cost)
            3)  กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation)
            4)  กลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโต (Growth)
            5)  กลยุทธ์ด้านพันธมิตร (Alliance)

            โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)
                        1)  กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ได้แก่
                                    -  การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) เช่น การรับ การเก็บรักษาวัตถุดิบ และการจัดการปัจจัยนำเข้า
                                    -  การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations) เป็นกิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
                                    -  การลำเลียงออก (Outbound Logistics) เป็นกิจกรรมในการลำเลียงส่งสินค้าที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด
                                    -  การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคาและส่วนประสมผลิตภัณฑ์
                                    -  การบริการ (Service) เกี่ยวกับการให้บริการลูกค้า เช่น การติดตั้ง การฝึกอบรม การบำรุงรักษา
                        2)  กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ได้แก่
                                    -  โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure) เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การจัดการทั่วไป กฎหมาย และระบบข้อมูล
                                    -  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) กิจกรรมด้านการจัดหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา การยกระดับความรู้ทักษะ
                                    -  การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management) เกี่ยวข้องกับงานด้านวิจัยและพัฒนา
                                    -  การจัดหา (Procurement) เกี่ยวข้องกับการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลือง รวมถึงอาคารและปัจจัยผลิตอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่อการแข่งขัน
            1.  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม
            2.  การใช้ไอทีช่วยให้มีการดำเนินงานที่ดีเหนือคู่แข่งขัน
            3.  การใช้ไอทีในการสร้างธุรกิจใหม่
 
กรณีศึกษาบทที่ 10
กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ นกแอร์

1.  สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไรบ้าง
ตอบ =  1.  สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านของพนักงานให้บริการ และสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.  ลูกค้าสามารถสำรองที่นั่งได้โดยสามารถสั่งจองผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
3.  สามารถเพิ่มยอดจำหน่ายหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายตั๋วเครื่องบินได้โดยลูกค้าสามารถซื้อตัวได้หลายราคา เช่น ถ้าลูกค้าจองที่นั่งล่วงหน้าจะได้ราคาต่ำกว่าราคาปกติ

2.  จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ =  กลยุทธ์ทางด้านราคา เช่น การตั้งหลายราคา โดยที่ จำหน่ายตั๋วในราคาถูกให้กับลูกค้าที่มีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า


คำถามท้ายบทที่10

ข้อ 1. อธิบายความหมายของกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ.
กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริญเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ
ข้อ 2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ.
1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
ข้อ 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
คำตอบ.
กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)

2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)- การจัดหา (Procrument)

ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่
ข้อ 4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.
แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
ข้อ 5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System: IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อทูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ.
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้อวการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลง
องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น