วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

บทที่ 7
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การตัดสินใจเป็นบทบาทของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การการมีสารสนเทศที่ดีและเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงกล่าวถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System: DSS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

ระดับของการจัดการสามารถแบ่งได้3ระดับ คือ
1) การจัดการระดับสูง(Upper-level management) เป็นสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ จากภายในและภายนอกองค์การการจัดการระดับนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท และกรรมการผู้จัดการ
2) การจัดการระดับกลาง(Middle-level Management) เป็นการวางแผนยุทธวิธีและประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างาน ระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการฝ่าย
3) การจัดการระดับต้น(Lover-level Management)มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานประจำวันซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนของผู้บริหารระดับกลางระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับต้น เช่น หัวหน้างาน, หัวหน้าแผนก

การตัดสินใจ(Decision Making) ประกอบด้วย5ขั้นตอนคือ
1)การใช้ความคิดประกอบเหตุผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบแยกแยะและกำหนดระยะละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
2)การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้
3)การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหาและสถาณการณ์มากที่สุด
4)การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้วนำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
5)การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรหากมีข้อผิดพลาดสามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อหาเลือกเลือกใหม่อีกครั้ง

การตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการได้3ระดับคือ
1)การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ทีให้ความสนใจในอนาคต เช่นการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว
2) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดไว้
3) การตัดสินใจเชิงปฏิบัติเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน เช่นการตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง

ประเภทของการตัดสินใจจัดเป็น3รูปแบบ คือ
1)การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง(Structured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง คือมีขั้นตอนหรือกระบวนในการแก้ปัญหาที่แน่ชัดและเป็นโครงสร้างการตัดสินในเชิงน่าจะเป็น เช่น การสั่งซื้อสินค้าคงคลังซึ่งสามารถทราบการคำนวณจุดสั่งซื้อและทำการสั่งซื้อเมื่อจำนวนสินค้าต่ำกว่าระดับที่กำหนด
2) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง คือสามารถระบุกระบวนการหรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วนแต่ไม่มากพอที่จะนำไปตัดสินใจได้อย่างแน่นอนอีกส่วนหนึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณของผู้ตัดสินใจหรืออาจต้องอาศัยโมเดลต่างๆ ประกอบเพื่อช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การซื้อขายหุ้นการประเมินผลด้านเครดิต
3)การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจได้ล่วงหน้าเช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่

ส่วนประกอบของระบบDSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก3ส่วน
1)ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูลสารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล ระบบDSSอาจเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูลเพื่อดึงหรือกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจ
2)ส่วนจัดการโมเดล(Model Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง, ระบบจัดการแบบจำลอง, ภาษาแบบจำลอง, สารบัญแบบจำลอง, และส่วนดำเนินการแบบจำลอง
3)ส่วนจัดการโต้ตอบ(Dialogue Management Subsystem) เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบเพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน

ส่วนจัดการความรู้(Knowledge-based Management Subsystem) DSSขั้นสูงจึงจะมีส่วนที่เรียกว่าส่วนจัดการองค์ความรู้

ประเภทของระบบDSSจำแนกออกเป็น2ประเภท
1)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก(Model-drivenDSS) เป็นระบบจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่างๆ
2)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก(Data-drivenDSS) เป็นระบบท่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่างๆ เช่น โมเดลบัญชี

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS) เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล
ส่วนประกอบของ GDSS
            1) อุปกรณ์ (Hardware)
            2) ชุดคำสั่ง (Software)
            3) ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base)
            4) บุคลากร (People>


กรณีศึกษาบทที่ 7
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

1.  การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพัก ที่ไหน เมื่อใด และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ = มีความจำเป็น เนื่องจากการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ และเมื่อนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ (SHMA) ทำให้สามารถวิเคราะห์งบประมาณที่มีอยู่และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การ อีกทั้งระบบยังสามารถวิเคราะห์ว่ามีเศรษฐกิจรอบๆกองทับและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ ในขณะนั้น เช่น พิจารณาว่ามีบ้านพักในกองทัพเช่าได้เพียงใด อีกทั้งในกองทัพมีทหารที่มียศถึง 20 ขั้น นายทหารแต่ละยศต่างๆ มีความต้องการที่แตกต่างกัน ยิ่งยศสูงเท่าใดจำเป็นตะจ้องมีบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น และในขณะเดียวกัน อาคารบ้านพักมีอยู่หาขนาด คือ จากขนาดห้องห้องเดียวไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอน ขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา และการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 หน่วยต้องใช้เวลานาน การนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (SHMA) จึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความถูกต้องและยังช่วยลดระยะเวลาในการทำงานในส่วนนี้ของกองทัพได้

2.  องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้าง
ตอบ = 1.  ฐานข้อมูล (Database)
                 -  Off-post Data: ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพ
                 -  On-post Data: ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหาร
            2.  ฐานแบบจำลอง (Model Base)
                 -  Regional Economic Model (RECOM) for the Area: เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ
                 -  Modified Segment Housing Market Analysis (MSHMA): เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data



คำถามท้ายบทที่7

ข้อที่1    เป็นระบบที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงจัดการในสถานการณ์การตัดสินใจ               กึ่งโครงสร้างช่วยขยายความสามารถของผู้ที่ทำหน้าที่จัดสินใจ
            การตัดสินใจที่ประกอบด้วย4ขั้นตอน
            1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
            2.การออกแบบ
            3.การคัดเลือก
            4.การนำไปใช้
           
ข้อที่2    1.สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
            2.สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
            3.สามารถใช้งานได้ง่าย
            4.เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
5.สามารถปรับเข้ากับข้อมูลให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้มีความยืดหยุ่นสูง
            6.มีการใช้แบบจำลองต่างๆช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
            7.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายแหล่งทั้งในองค์กรและนอกองค์กร

ข้อที่3    ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ จะทำการตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่ขอบเขตของปัญหาจะแคบและเฉพาะเจาะจงและมีความสามารถในการใช้เหตุผลและการอธิบาย
            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจแทนระบบขอบเขตของปัญหาจะกว้างและซับซ้อน

ข้อที่4    การสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเอง
            ระบบการตัดสินใจแบบกลุ่มต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเนื่องจากปัญหานั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีความซับซ้อนมีผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินงาน
            การใช้บุคคลเดียวในการตัดสินปัญหาอาจไม่สามารถทำได้อย่างรอบคอบและถูกต้องจึงต้องอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล

ข้อที่5    ใช้ในการศึกษารูปแบบการเลือกชื้อสินค้าของลูกค้าเช่นเมื่อลูกค้าชื้อคอมพิวเตอร์ ฝ่ายการตลาดก็จะใช้ข้อมูลในการวางแผนการสนับสนุนการขายสินค้า เมื่อชื้อไปแล้วจะต้องชื้ออะไรเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และจำแนกกลุ่มของลูกค้าที่มาชื้อสินค้าบ่อยๆ ประโยชน์เหล่านี้สามารถใช้ชี้นำเกี่ยวกับการกำหนดราคา การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และการเพิ่มรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น