วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้

บทที่ 13
เทคโนโลยีและการจัดการความรู้
ความรู้  คือ  เป็นการผสมผสานของประสบการณ์ สารสนเทศ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน ค้นคว้า และ ถ่ายทอด

ประเภทความรู้   มี2 ประเภท ตือ
1. ความรู้โดยนัย  เป็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ประเภทนี้สามารถพัฒนาได้ เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง   เป็นความรู้ที่เป็นเหตุ และ ผล สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร ข้อความ สูตร นิยาม
ความหมายของการจัดการความรู้
หมายถึง  กระบวนการอย่างเป็นระบบในการสรรหา การเลือก การรวบรวม การจัดระบบ การสร้างและจัดเก็บความรู้ ในลักษณะที่เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย แบ่งปันความรู้กันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์การ
ประโยชน์ของการจัดการความรู้
1. ช่วยเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไป
2. ช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับทุกส่วนขององค์การ
4. เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์ และ บริการ
5. ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ ส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
6. ช่วยให้องค์การมีความพร้อมในการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ
รูปแบบการจัดการความรู้  ประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้
1. เป็นการจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
2. การสื่อสาร
3. กระบวนการและเครื่องมือ
4. เรียนรู้
5. การวัดผล เพื่อให้ทราบสถานะว่าผลที่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ
ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้  เช่น
1. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
2. ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
3. ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์
5. การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย
6. การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย
7. ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม
8. บล็อก ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จ
1. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
2. มีเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่ชัดเจน
3. มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ภายในองค์การ
4. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้
5. ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ
6. มีการวัดผลของการจัดการความรู้
7. มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ
8. มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
กรณีศึกษา
1. เป้าหมายของการจัดการความรู้ของ บริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   เป้าหมายบริษัท ทรู ต้องการเป็นผู้นำในการให้บริการสื่อสารครบวงจร ต้องการให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นทรูจึงจัดโครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์การ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของ บริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยน เผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร
ตอบ   1. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
      2.ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
           3.ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
           4. การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย
       เทคโนโลยีblog หรือWeblog สามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ความรู้ได้ ดังนี้ blog คือเรื่องราวที่นำมาเขียน โดยคนที่เข้ามาดูสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่ง กัน และ กันได้เราสามารถจะเขียนเรื่องใดก็ได้ขอให้มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจก็เพียงพอแล้วแต่ blogนั้น ปัจจุบันเราเริ่มนำมาใช้ในรูปแบบของประชาสัมพันธ์มากขึ้น แต่ก่อนนั้น เราอาจจะรับข่าวสารได้เพียงเเค่สื่อ จาก ทีวี หรือ วิทยุแต่ ปัจจุบัน เราสามารถ รับข่าวสาร จาก blog ได้

       ประโยชน์ของ Blog มีดังนี้
1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยในด้านธุรกิจ  เช่น  การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสาร ความเคลื่อนไหวขององค์การ การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า
3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้าน ผู้มีความชำนาญในด้านต่าง ได้เร็วขึ้น
4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้มาจากผู้คนมากมาย ทั่วโลก และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น