วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทที่ 4
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองคืการมีดังนี้

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมลแอดเดรส

โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา

วอยซ์เมล (Voice Mail)
            เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมลบ็อกซ์ เมื่อผ็รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม

การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
            เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
            เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

กรุ๊ปแวร์(groupware)
            เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
            ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
            เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
             
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
            เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ

เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
                
2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
            สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล

            Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
                
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem) 
            โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)

ตัวกลางการสื่อสาร
1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
-  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
            สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
-  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
            สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
-  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
            สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก

2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
- แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
-  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
-  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
-  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์

หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1.  ราคา
2.  ความเร็ว
3.  ระยะทาง
4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5.  ความปลอดภัยของข้อมูล

มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1. บลูทูธ (Bluetooth)
2. ไวไฟ (Wi-Fi)
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้เครือข่าวไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ (Hertz)

1.  จากการประยุกต์ใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ที่ได้กล่าวข้างต้น แอปพลิเคชั่นที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การมีอะไรบ้าง และมีแอปพลิเคชันใดบ้างที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ตอบ =  1.   การให้บริการเช่ารถยนต์ด้วยความรวดเร็ว
            2.   การคืนรถยนต์อัตโนมัติ
3.   บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
4.   การตรวจสอบเส้นทางเดิน
5.   บริการเสริมสำหรับลูกค้า
6.   การตรวจสอบตำแหน่ง
แอปพลิเคชันที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางคือ บริการเสริมต่างๆ สำหรับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แผนที่แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนร้านค้า โรงแรม และแหล่งบันเทิงต่างๆ ผ่านทางเครื่องพีดีเอ

2.  ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้
ตอบ =  ช่วยให้บริษัทตรวจสอบได้ว่ารถยนต์ ขณะนี้อยู่ที่ใด ขับด้วยความเร็วเท่าใด และในฐานะที่ เป็นผู้เช่ามีความเห็นว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวมากเกินไป


กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้ RIFD ในห่วงโซ่อุปทานของยา

1.  ท่านคิดว่า RIFD มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
ตอบ =  สามารถตรวจสอบยาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่าบาร์โค้ดเนื่องจากการใช้ RIFD นั้นสามารถระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุโดยการสแกนผ่านรูปทรงของวัตถุได้เลย แต่ในส่วนของบาร์โค้ดนั้นต้องนำที่สแกนไปสแกนให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งฉลากบาร์โค้ดจึงจะสามารถสแกนข้อมูลของยาได้ดังนั้นการใช้บาร์โค้ดจึงทำให้เป็นการเสียเวลามากกว่า

2.  จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ มา 3 ตัวอย่าง
ตอบ =  1.  ร้านรองเท้า
            2.  ร้านเครื่องเขียน
            3.  ห้างสรรพสินค้า

3.  ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง
ตอบ =  การติดตั้งระบบค่อนข้างมีราคาแพงอาจไม่คุ้มทุนนะถ้าหากว่าธุรกิจมีขนาดไม่ใหญ่ และ การดูแลระบบอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบระบบเพิ่มต่างหากทำให้เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับธุรกิจ

คำถามท้ายบทที่ 4

1.  จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
ตอบ =  1. โปรโตคอล กฏหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล
2  การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล
3.  บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายระยะสั้นไม่เกิน 10 เมตรโดยใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล
2.  จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายเปรียบเทียบมาตรฐานการสื่อสารและเครือข่าย การนำไปใช้งานระหว่าง  PAN,  LAN,  WLAN  และ WWAN
ตอบ =  1.  PAN   เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล  สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เทคโนโลยีที่นำมาใช้เช่น บลูทูธ
2.  LAN   เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น  ระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps สื่อที่ใช่มักเป็นสายสัญญาณ
3.  WLAN  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายระยะใกล้โดยไม่มีการเดินสายสัญญาณ
4.  WWAN  เป็นเครือข่ายไร้สายขนาดใหญ่ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก

3.  จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มา
ตอบ =  1.  โทรศัพท์มือถือ
2.  วิทยุสื่อสาร (WalkyTalky)
3.  สถานีวิทยุและโทรทัศน์

4.  ไวแม็กซ์ต่างจากไวไฟอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ =  ไวแม็กซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สารระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 สามารถส่งข้อมูลได้กว้างประมาณ 50 กิโลเมตร ส่วนไวไฟเป็นเทคโนโลยีอินเทอเน็ตไร้สายความเร็วสูงใช้สัญญาณวิทยุในการับส่งข้อมูลแต่มีความสามารถในการส่งข้อมูลจากจุดแอกเซสพอยท์ หรือจุดรับข้อมูลใกล้กว่าไวแม็กซ์

5.  จงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เครือข่ายส่วนบุคคลไร้สาย (Wireless PAN หรือ WPAN) ที่บ้าน และท่านจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้างในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้
ตอบ =  เมื่อนำระบบ WPAN มาใช้ที่บ้านก็จะประยุกต์ไปใช้ในเรื่องของการสั่งพิมพ์งานเอกสารต่างๆ ออกทางเครื่องพิมพ์ทำให้เวลาพิมพ์งานนั้นสะดวกรวดเร็วและไม่ต้องมีสายต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ ให้เกะกะ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ก็มี เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีบลูทูธ เครื่องพิมพ์ที่รองรับระบบบลูทูธ

6.  จงยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ = 1. เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้นเนื่องจากงานต่อการติดตั้งและดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่าแบบมีสายสัญญาณ
           2. จะมีการคิดค้นหรือปรับปรุงเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่ายที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น