วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

บทที่ 9
ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1.  Cognitive Science
                งานด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ
                -  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชียวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
                -  ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network) ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
                -  ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) เป็นระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลล์มนุษย์
                -  ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน และสามารถทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งระบบจะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ด้ายการพิจารณากาข้อมูลเท่าที่มีเท่านั้น ระบบนี้ใช้วิธีการหาคำตอบได้แบบมนุษย์มากกว่าระบบงานทั่วไปซึ่งใช้เพียงประโยคเงื่อนไขธรรมดา
                -  เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm) หรืออัลกอริทึมพันธุกรรม ใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเองของระบบในการหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้นโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
                -  เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับผู้ใช้ปลายทาง
                -  ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับในระหว่างการประมวลผล

2.  Roboics
                พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์

3.  Natural Interface 
งานด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์
                -  ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language) รวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วยภาษามนุษย์
                -  ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอินพุต/เอาท์พุต เพื่อใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกของภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ เช่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ

ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
                เป็นการนำเอาระบบต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอนเข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
                1.  ข้อมูลในระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
                2.  ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
                3.  ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
                4.  ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์ เช่น ความลำเอียง ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
                เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์

องค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญ
                1.  ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ซึ่งจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ
                2.  โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งออกได้ 2 ส่วน
                                1)  ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้
                                2)  ส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
                1.  ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ตลอดเวลา
                2.  ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจ
                3.  สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจ
                4.  ช่วยให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
                5.  ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
                1.  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องอ่านพิกัด เครื่องกวาดตรวจ พล็อตเตอร์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ
                2.  โปรแกรม คือชุดคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ
                3.  ข้อมูล คือข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในระบบ GIS เช่น ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic Data) จะใช้จุด เส้น และพื้นที่แทนปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลก และ ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute Data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพ เช่น ชื่อถนน ลักษณะพื้นผิว ฯลฯ
                4.  บุคลากร คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ GIS
                5.  วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน

หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                1.  การนำเข้าข้อมูล (Input)
                2.  การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
                3.  การบริหารข้อมูล (Management)
                4.  การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
                5.  การนำเสนอข้อมูล (Visualization)

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                1.  ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือ
                2.  แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูล
                3.  สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
                4.  สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
                5.  สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐาน
                6.  สามารถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้
                7.  สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้

                ระบบ GIS มีความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับตำแหน่งที่ตั้งจึงเป็นระบบที่เหมาะสมกับข้อมูลสิ่งแวดล้อมมากกว่าระบบสารสนเทศประเภทอื่น แต่การนำระบบนี้มาใช้ควรคำนึงถึงประเด็นดังนี้

                1)  บุคลากรมีจำกัด:  งานด้าน GIS ต้องอาศัยผู้รู้เฉพาะทาง
                2)  ค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน:  การสร้างแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเองมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานทั้งในด้านการศึกษาข้อมูล และการดิจิไทซ์ (Digitize)
                3)  ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล:  ระบบ GIS ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประชากร โรค หรือจำนวนผู้ป่วย ฯลฯ หากข้อมูลไม่ตรงกับความจริงแล้ว ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาแก้ไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น