วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

บทที่ 8
ระสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
บทบาทของผู้บริหาร
1) บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี ผู้บริหารควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2) บทบาททางด้านข้อมูลข่าวสารผู้บริหารควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับก่อนการเผยแพร่ออกสู่ภายนอกเพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
3) บทบาททางด้านการตัดสินใจของผู้บริหารควรมีความสามารถในการตัดสินใจในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์

ลักษณะข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูง
 1) ข้อมูลภายในองค์การ โดยได้จากการดำเนินงาน เช่น การปฏิบัติงาน การควบคุม การตรวจสอบ และ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงาน เช่น งบประมาณ แผนด้าค่าใช้จ่าย ประมาณการรายได้ แผนด้านการเงิน
2) ข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลนี้มีเกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อองค์การ เช่น การแข่งขัน เศรธฐกิจ ความต้องการลูกค้า
3) ข่าวสารที่ใช้ติดต่อสือสารระหว่างกัน  ควรเป็นข้อมูลที่สรุปได้ใจความ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้าง อำนวยความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัย และเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนด เป้าหมาย กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

ลักษณะของระบบ ESS
            1) ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
            2)  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
            3)  เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
            4)  สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
            5)  พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
            6)  มีระบบรักษาความปลอดภัย

ความสำคัญของผู้บริหารต่อการพัฒนาระบบ ESS
            ระบบ ESS เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ และช่วยผลักดันและสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการนำสารสนเทศที่ได้จากระบบ ESS ไปใช้ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการวางแผลกลยุทธ์สารสนเทศที่ดีสอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธขององค์การ โดยการวงแผนกลยุทธ์สารสนเทศจะดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง



กรณีศึกษาบทที่ 8
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทเฮิร์ตซ์
(An Executive Information System at Hertz Corporation)

1.  การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง
ตอบ = ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมของแต่ละแห่ง เช่น สถานที่ เทศกาล กิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้แข่งขัน พฤติกรรมของลูกค้า

2.  เพราะเหตุใดบริษัทเฮิร์ตจึงนำเอาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาใช้
ตอบ = เนื่องจากระบบเดิมคือระบบ DSS นั้นพบว่าบางครั้งผุ้จัดการฝ่ายการตลาดต้องอาศัยผู้ช่วยเพื่อคอยช่วยเหลือในการใช้ระบบ ทำให้มีขั้นตอนในการประมวลผลเพิ่มขึ้น และไม่คล่องตัว จึงตัดสินใจเพิ่มระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ESS ซึ่งเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในลักษณะเรียลไทม์ (Real-time) ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องอายศัยผู้ช่วยอีกต่อไป



คำถามท้ายบทที่8

ข้อ 1. อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
คำตอบ.
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

ข้อ 2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
คำตอบ.
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

ข้อ 3. ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
คำตอบ.
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

ข้อ 4. Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
คำตอบ.
เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้

ข้อ 5. ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง

3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น