วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 14 จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

บทที่ 14
จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิติร่วมกันในสังคม
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึง 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1)  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) คือ สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ
2)  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3)  ความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และที่จับต้องไม่ได้เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ทรัพสินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองสิทธิภยใต้กฎหมาย (1) ความลับทางการค้า (Trade Secret) (2) ลิขสิทฺธิ์ (Copyright) (3) สิทธิบัตร (Patent)
4)  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลสวนตัว

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเทศไทยมีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1)  กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2)  กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3)  กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตร์
4)  กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5)  กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว
6)  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูย มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

ความเคลื่อนไหวของรัฐและสังคมต่อผลกระทบทางสังคมของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รัฐและสังคมตระหนักต่ออิทธิพลของคอมพิวเตอร์ จึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือวางกฎหมายที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ไม่ถูกต้อง/ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านการสื่อสารเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
แคร็กเกอร์ (Cracker) คือแฮกเกอร์ที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ
Hacktivist หรือ Cyber Terrorist ได้แก่แฮกเกอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
-  การขโมยหมายเลขบัตรเครดิต เป็นการขโมยหมายเลขบัตรทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยากต่อการรู้จนกว่าจะได้รับใชแจ้งยอดการใช้เงินในบัตรนั้น
-  การแอบอ้างตัว เป็นการแอบอ้างตัวของผู้กระทำต่อบุคคลที่ตนเป็นอีกคนหนึ่ง การกระทำในลักษณะนี้จะใช้ลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ หมายเลยบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง
-  การฉ้อโกง หรือการสแกมทางความพิวเตอร์ เป็นการกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น เช่น
(1)  การส่งข้อความหรือโฆษณาบนเว็บไซต์ว่าท่านสามารถเดินทางเข้าพัก/ท่องเที่ยวแบบหรูหราในราคาถูก แต่เมื่อไปใช้บริการจริง กลับไม่เป็นอย่างที่บอกไว้
(2)  การฉ้อโกงด้านธุรกรรมการเงินหรือการใช้บัตรเครดิต เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นการสร้างจดหมายข้อความเลียนแบบ หรือรูปแบบการแจ้งข่าวสารของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น eBay เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบางอย่างจากผู้ใช้ โดยใด้ผู้ใช้ส่งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเงินไปยังกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี
การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
1)  การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)
2)  การใช้วัตถุใดๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ
3)  การใช้อุปกรณ์ทางชีพวภาพ (Biometric Devices)
4)  การเรียกกลับ (Callback System)

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
-  ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกโซเบอร์ Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ 1) ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อคมัน 2) ถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (Backup)
-  ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์
1)  บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
-  ให้หมายเลยบัตรเครดิตเฉพาะบริษัทที่ท่านไว้วางได้เท่านั้น
-  ใช้เฉพาะเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น https://
-  ใช้รหัสผ่านอย่างน้อย 10 ตัวอักขระ (ควรผสมกันระหว่างตัวอักษรและตัวเลข)
-  ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละระบบหรือเว็บไซต์
2)  การปัองกันข้อมูลส่วนบุคคล พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการให้ข้อมูลส่วนตัว
3)  การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ ใช้โปรแกรม เช่น SurfSecret เพื่อป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ โปรแกรมจะทำงานคล้ายกับโปรแกรมป้องกันไวรัส และลบข่าวสาร/โฆษณาที่เกิดขี้นเมื่อผู้ใช้ท่างเว็บไซต์
4)  การหลีกเลี่ยงสแปมเมล
5)  การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ที่เป็นอาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อทำหน้าที่เป็นยามประตูตรวจสอบการเข้าระบบ
6)  การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
-  ปฏิบัติตามเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ ด้วยตัวอักษรย่อ EMAIL ดังนี้
E ย่อมาจาก Exempt from unknown คือ ไม่เปิดอีเมลจากคนแปลกหน้า
M ย่อมาจาก Mind the subject คือ หมั่นสังเกตหัวข้อของจดหมายก่อนที่จะเปิดอ่าน
A  ย่อมาจากประโยค Antivirus must be installed หมายความว่า ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เช่น Norton Antivirus
I ย่อมาจาก Interest on virus news หมายความว่า ควรให้ความสนใจกับข่าวเกี่ยวกับไวรัส ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ
L  ย่อมาจาก Learn to be cautious หมายความว่า ให้ระวังให้มาก อย่าเปิดอีเมลแบบไม่ยั้งคิด
-  ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (http://thaicert.nectec.or.th/)

นอกจากข้อควรระวังแล้วยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมดังนี้
1)  การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
2)  การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
3)  การใช้พลังงาน

กรณีศึกษาบทที่ 14
การโจมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

1.  การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการโจมตีแบบฟิชชิ่งอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ =  คือ การกระทำความผิดด้วยการหลอกลวง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญบางอย่างของผู้อื่นไป อาทิ เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, หมายเลขพิน หรือบรรดาเลขหลายไอเดนติตี้อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล หรือรหัสที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน การธนาคาร โดยผู้กระทำ Phisher จะส่งข้อความหลอกลวงนั้น ผ่านทางอีเมล์บ้าง ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงิน หรือ ธนาคาร ที่หมายตา ทำทีแจ้งแก่ลูกค้า หลอกว่าทางบริษัท หรือธนาคาร มีปัญหาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการ ซ่อมแซม และรวบรวมข้อมูลที่เสียหาย จึงจำเป็นต้องขอทราบข้อมูลของลูกค้า ให้ลูกค้ารีบติดต่อกลับ หรือมอบข้อมูลเหล่านั้นกลับโดยเร็ว โดยให้เข้าไปที่เว็บไซท์ หรือบริการ Online ของบริษัท หรือธนาคารนั้น ๆ ตามลิงก์ที่แนบมาด้วยแล้วในอีเมล์

2.  จงยกตัวอย่างกรณีศึกษาการโจมตีแบบฟิชชิ่งมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ =  1) การหลอกล่อเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัล เช่น บริษัทแห่งหนึ่งส่งข้อความทาง E-mail แมสเซนเจอร์บ้างตามถนัด ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงินหรือ ธนาคาร ที่หมายตา (มีการเชื่องโยงถึงเว็บไซต์ปลอม) ทำทีแจ้งว่าท่านเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ที่สุดที่บริษัทเคยมีมา (เงินรางวัล บ้าน รถยนต์) รางวัลนั้นอาจเป็นสิ่งล่อใจให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สามารถระบุถึงตัวคุณ (PII) (ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนของบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรประจำตัว IP แอดเดรส หรือตัวระบุเฉพาะใดๆ ที่สัมพันธ์กับ PII ในโปรแกรมอื่น) เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินลงไป เพื่อให้ท่านได้มาซึ่งรางวัลอันหลอกลวงนั้น เมื่อบริษัทดังกล่าวได้ข้อมูลนั้นไป อาจนำไปทำธุรกรรมอะไรบางอย่างที่ส่งผลร้ายแก่ท่าน
2)  การเลียนแบบเว็บไซต์ปลอมและโดเมนปลอมของบริษัทที่ให้บริการซื้อ-ขายผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (E-commerce) ในราคาถูก และทำการแจ้งต่อลูกค้าเป้าหมายผ่านทาง E-mail แมสเซนเจอร์บ้างตามถนัด ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงินหรือ ธนาคาร ที่หมายตา (มีการเชื่องโยงถึงเว็บไซต์ปลอม) เช่น อ้างถึงบริษัทชั้นนำ (ในขณะนั้น) ว่าเป็นการจัดรายการพิเศษหรือคืนกำไรสำหรับลูกค้าที่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อดังกล่าว โดยทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมและโดเมนปลอมเพื่อเลียนแบบบริษัทในการจำหน่ายสินค้าและแจ้งราคาปลอมและสิ่งล่อใจต่างๆให้เป้าหมายคล้อยตามและตกลงใจทำธุรกรรมนั้นผ่านสื่อปลอมและนำข้อมูลดังกล่าวไปทำธุรกรรมอย่างอื่นเพื่อทำให้เป้าหมายได้รับความเสียหายต่อไป

3.  ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันกลลวงจากฟิชชิ่งอย่างไร
ตอบ =  1)  ไม่ส่งข้อมูลส่วนบุคคลในข้อความอีเมลทั่วไป
2)  ต้องมั่นใจว่าเว็บไซต์ดังกล่าว ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกใบรับรอง และตรวจสอบยูอาร์แอลเว็บไซต์จริงที่จะลิงค์ไปให้ถูกต้อง
3)  ใช้ไฟร์วอลล์ ปรับปรุงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสมอ และใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
4)  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นใช้การเข้ารหัสลับ   ที่อยู่เว็บควรจะนำหน้าด้วย https:// แทนที่จะเป็น http:// ทั่วๆไป
5)  ทำธุรกิจกับบริษัทที่รู้จักและไว้วางใจเท่านั้น
6)  ไม่คลิกการเชื่อมโยงในข้อความที่น่าสงสัย
7)  ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตแบบเบ็ดเสร็จเพื่อไม่ให้ไฟล์โฮสต์ถูกไวรัส โทรจัน สปายแวร์และซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายตัวอื่นๆ ถูกดัดแปลงเป็นฟาร์มมิ่ง



คำถามท้ายบทที่14

ข้อ 1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
คำตอบ.
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์
ข้อ 2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
คำตอบ.
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น
ข้อ 3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์
ข้อ 4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
คำตอบ.
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ
ข้อ 5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
คำตอบ.
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ข้อ 6. จากเหตุการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถาม
ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทแห่งหนึ่งได้สอดส่องการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานบริษัท และพบว่ามีพนักงานจำนวนมากใช้ระบบของบริษัทเพื่องานส่วนตัวข้อความบางส่วนที่ตรวจพบเป็นจดหมายรักบ้าง เป็นข้อมูลการดูแลผลการแข่งขันฟุตบอลบ้าง ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยท่านนี้จึงได้เตรียมทำรายงานชื่อพนักงานเหล่านั้น พร้อมตัวอย่างข้อความที่ใช้งานกันเพื่อให้กับฝ่ายบริหารต่อไป ผู้จัดการฝ่ายบางคนก็ลงโทษพนักงานในฝ่ายของตนที่ใช้อีเมลในงานส่วนตัว ในขณะที่ฝ่ายพนักงานได้เรียกร้องในเรื่องความเป็นส่วนตัวของการใช้งานระบบอีเมลของบริษัท
6.1 ท่านคิดว่าการที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการฝ่ายสอดส่องเฝ้าดูการใช้อีเมลของพนักงานนั้นเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน
6.2 การใช้อีเมลเพื่อการสื่อสารส่วนตัวของพนักงานเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ จงให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ.
การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของพนักงาน นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้
6.3 การที่ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศส่งรายชื่อพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้ให้กับผู้บริหารเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนหรือให้คำชี้แนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น
6.4 การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา
6.5 ท่านคิดว่าบริษัทควรดำเนินการเช่นใดเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง
คำตอบ.
คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น